วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

โครงงานน้ำหมัก โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก

โครงงาน
เรื่อง “น้ำหมักกล้วยไข่”


1.  นายพัชรพงษ์                อนุเคราะห์          เลขที่  2
2.  นายสิทธิกร                    กะชิรัมย์              เลขที่  5
3.  นายอนุพงษ์                   พริ้งเพราะ           เลขที่  6
4.  นายปฐมพร                   เครือเพชร            เลขที่  7
5.  นายวรรณชนะ               ดีสม                     เลขที่  9
6.  นางสาวสุกัญญา             สุดฉลาด              เลขที่  29
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4/1


รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงงานห้องสมุด (ง30202)
ภารเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ เขต 33

โครงงาน
“น้ำหมักกล้วยไข่”

ชื่อสมาชิกผู้รับผิดชอบโครงงาน
1.  นายพัชรพงษ์                           อนุเคราะห์           เลขที่  2
2.  นายสิทธิกร                               กะชิรัมย์                เลขที่  5
3.  นายอนุพงษ์                              พริ้งเพราะ            เลขที่  6
4.  นายปฐมพร                              เครือเพชร             เลขที่  7
5.  นายวรรณชนะ                         ดีสม                       เลขที่  9
6.  นางสาวสุกัญญา                      สุดฉลาด                เลขที่  29
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4/1

ผู้บริหารสถานศึกษา
                    นายวรวรรธ์  ประคองใจ

 ครูที่ปรึกษาโครงงาน

                 คุณครูวิรัตน์  ระหว่างบ้าน
                   
ชื่อสถานที่ศึกษา โรงเรียนรามวิยา รัชมังคลาภิเษก หมู่ที่ 12  ตำบลราม  อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์
                               







บทคัดย่อ
                การทำน้ำหมักกล้วยไข่ได้มีแนวคิดจากการชมรายการทีวี  จากการเรียนการสอนของครูอาจารย์ 
ซึ่งใช้เป็นแนวคิดและแนวทางในการทำน้ำหมักกล้วยไข่ โดยกล้วยไข่มีสรรพคุณที่โดดเด่นคือระบายท้อง  ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องตัว  และในการทำน้ำหมักกล้วยไข่นี้ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน  ซึ่งมีวัตถุประสงค์อยู่ด้วยกันสองข้อคือ
ประการแรกคือนำน้ำหมักกล้วยไข่ที่หมักไว้  เดือน  ไปใช้แช่เท้ากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 คน 
เพื่อศึกษาคุณสมบัติของน้ำหมักในการดับกลิ่นเท้า  พบผลที่เป็นไปในทางที่ดีคือน้ำหมักกล้วยไข่
ใช้ดับกลิ่นเท้าได้ดีอย่างที่คาดไว้  ซึ่งใช้เวลาในการทำการทดลองเพียง 1 สัปดาห์  สิ่งที่พบและผลที่เกิดคือทำให้กลิ่นเท้าที่เคยมีจางหายและเมื่อใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่องจะทำให้กลิ่นเท้าหายจากกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้ 
ในประการที่สองคือนำน้ำหมักกล้วยไข่ที่หมักไว้ 3 เดือน  ไปใช้ล้างจานที่บ้านของสมาชิกในกลุ่ม  คนละ 6 ใบ  เป็นจำนวน 5 ครั้ง  ในการทดลองนี้จะเห็นผลได้ชัดเมื่อทดลองเป็นครั้งแรกเพราะคราบมัน
ที่เกาะอยู่กับจานหลุดออกอย่างง่ายดายแต่กลิ่นคาวยังคงติดอยู่  จึงมีการปรับเปลี่ยนแนววิธีการทดลองและประสบผลสำเร็จได้อย่างดีทีเดียวภายหลังการปรับเปลี่ยนแนวการทดลองจนกระทั่ง  คราบมันและกลิ่นคาวที่ติดอยู่กับจานชามหายไปถือเป็นผลที่เกิดกับการทดลองที่ดีอย่างมาก
บทที่  1
บทนำ
ความเป็นมา
                จากการเรียนรู้และศึกษาการทำน้ำหมัก  และได้เปิดพบรายการทีวีที่มีรายการของป้าเชง ที่มีชื่อรายการว่า “Super Cheng”  โดยมีการแนะนำการทำน้ำหมักชีวภาพและบอกถึงคุณค่ารวมทั้งประโยน์ที่ได้รับจากการทำน้ำหมักชีวภาพ เช่น การใช้บำรุงร่างกาย บำรุงผิพรรณ บำบัดโรค บำบัดน้ำเสีย  ใช้ดับกลิ่น
ในที่ต่าง ๆ  และยังพบตัวอย่างจากหนังสือของห้องสมุดในโรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก  ที่มีเรื่องเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพและบอกถึงคุณค่าและประโยชน์ของน้ำหมัก
                จากข้อมูลดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงงานและลงมือทำอย่างจริงจัง  โดยรวบรวมข้อมูลจากหลายแห่งหลายด้าน เช่น  จากอินเตอร์เน็ต  หนังสือวารสาร  รายการทีวี  รวมถึงจากผู้ปฏิบัติจริงในชุมชนและคุณครู
ที่ให้คำปรึกษา  จึงได้มีการจัดทำน้ำหมักชีวภาพที่ใช้วัตถุดิบจาก “กล้วยไข่”
ความสำคัญ
                ดังที่กล่าวไว้ในบทข้างต้นทางผู้จัดทำเห็นถึงประโยชน์หลายด้านที่เป็นผลจากการใช้น้ำหมัก 
อันส่งผลที่เห็นได้ชัดจากชุมชน  โรงเรียน  และจากการสำรวจผู้ใช้  พบว่าการใช้แล้วมีผลดีเป็นอย่างมาก  โดยน้ำหมักชีวภาพยังมีคุณประโยชน์ทั้งในด้านการเกษตร และใช้ในครัวเรือน นับว่าเป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างดีของผู้ที่เห็นถึงความสำคัญของสรรพคุณและประโยชน์ของน้ำหมัก
กล้วยอุดมด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทส และ กลูโคส รวมกับเส้นใยและกากอาหาร กล้วยจะช่วยเสริมเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายทันทีทันใด จากงานวิจัยพบว่ากินกล้วยแค่ 2 ผล ก็สามารถเพิ่มพลังงานให้อย่างเพียงพอ กับการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ได้นานถึง 90 นาที    
ประโยชน์ของกล้วยไม่ใช่เพียงแค่เพิ่มพลังงานเท่านั้น ยังช่วยเอาชนะ และป้องกันโรคต่างๆ
ที่จะเกิดกับร่างกายได้อีกหลายโรค  เช่น  โรคโลหิตจาง  โรคความดันโลหิตสูง  กำลังสมอง  โรคท้องผูก  โรคความซึมเศร้า  อาการเสียดท้องความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า  ยุงกัด  ระบบประสาท  โรคลำไส้เป็นแผล  การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย   ความสับสนของอารมณ์เป็นครั้งคราว  ความเครียด  เส้นเลือดฝอยแตก  โรคหูด

จุดประสงค์
                1.  เพื่อนำน้ำหมักกล้วยไข่ที่หมักไว้  เดือน  ไปใช้แช่เท้ากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 คน  เพื่อศึกษาคุณสมบัติของน้ำหมักในการดับกลิ่นเท้า
                2.  เพื่อนำน้ำหมักกล้วยไข่ที่หมักไว้ 3 เดือน  ไปใช้ล้างจานที่บ้านของสมาชิกในกลุ่ม  คนละ 6 ใบ  เป็นจำนวน 5 ครั้ง

บทที่  2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก อาจพบเกือบทุกหนทุกแห่งในธรรมชาติ ในอากาศที่เรา หายใจเข้าไป ในอาหารที่เรากิน ที่ผิวหนังของร่างกาย ในทางเดินอาหาร ในปาก จมูกหรือช่องเปิดต่างๆ ของร่างกาย แต่ยังเป็นความโชคดีของเราเพราะจุลินทรีย์ส่วนใหญ่มีคุณประโยชน์ต่อสรรพสิ่งมีชีวิตทั้ง มวลในโลก ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จุลินทรีย์เป็นตัวการทำให้เกิดกระบวนการหมัก ผลผลิตที่ได้ จากการหมักนั้น ในที่นี้เราขอเรียกว่า น้ำหมักชีวภาพ
น้ำหมักชีวภาพ
การนำเอาพืช ผัก ผลไม้ สัตว์ชนิดต่าง ๆ มาหมักกับน้ำตาลทำให้เกิดจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์จำนวนมากซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะไปช่วยสลายธาตุอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในพืช มีคุณค่าในแง่ของธาตุอาหารพืชเมื่อถูกย่อยสลายโดยกระบวนการย่อยสลายของแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์สารต่างๆ จะถูกปลดปล่อยออกมา เช่นโปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต เอนไซม์ วิตามิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
น้ำหมักชีวภาพ มี 2 ประเภท คือ
1. น้ำหมักชีวภาพจากพืช ทำได้โดยการนำเศษพืชสด ผสมกันน้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาลอัตราส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน พืชผัก 3 ส่วน หมักรวมกันในถังปิดฝา หมักทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วันหรือหมักไว้เป็นปี เราจะ ได้ของเหลวข้น ๆ สีน้ำตาล ซึ่งเราเรียกว่า น้ำหมักชีวภาพจากพืช
2. น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ มีขั้นตอนทำคล้ายกับน้ำหมักจากพืช แตกต่างกันตรงวัตถุดิบจากสัตว์ เช่น หัวปลา ก้างปลา หอยเชอรี่ เป็นต้น
เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี
1 . ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ใน ภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติก หรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลด ปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้ จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพ จากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิท รอการใช้งานต่อไป
2. ในระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่าง การ หมักจะเกิดก๊าชต่าง ๆ ขึ้น เช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน เป็นต้น
3.ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลาย




กล้วยไข่
ชื่อพื้นเมือง :
กล้วยไข่
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Musa acuminata Colla
ชื่อวงศ์ :
MUSACEAE
ชื่อสามัญ :
-
สรุปลักษณะและข้อมูลพันธุ์ไม้ :
ไม้ล้มลุก ขึ้นบนบกในที่กลางแจ้ง ความสูง 1.2 เมตร ความกว้าง 1 เมตร รูปร่างคล้ายรูปร่ม ลำต้นอยู่ใต้ดินมีลักษณะเป็นหัว ผิวของลำต้นเรียบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ต้นอ่อนมีสีขาว ต้นแก่สีน้ำตาล มียางใส ใบเป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนมีสีเขียว ใบแก่มีสีน้ำตาล แผ่นใบกว้าง 30 - 45 เซนติเมตร ยาว 100 - 200 เซนติเมตร ใบจะแผ่กว้างยาว การเรียงตัวของใบเรียงแบบสลับ แผ่นใบรูปแถบปลายใบม้วน โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ
ประโยชน์ :
ปลูกเป็นไม้ผล ผลแก่รับประทานเป็นผลไม้หรือทำอาหารหวาน
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง :
กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่นิยมผู้บริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี ลักษณะการเรียงตัวของผลและสีผลสวยสะดุดตา ปัจจุบันส่งออกจำหน่ายต่างประเทศมากขึ้น ตลาดที่สำคัญคือ จีน และฮ่องกง
กล้วยไข่เป็นพืชที่สามารถปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศ ในพื้นที่ปลูกที่มีการจัดการการผลิตเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณ และผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพ ตลาดต้องการ ปัญหาสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของผลผลิตคือ การปนเปื้อนของ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค ตลอดจนการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนั้นกระบวนการผลิตจึงต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม
แหล่งปลูกที่เหมาะสม
สภาพพื้นที่:
                - พื้นที่ดอน หรือพื้นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง
                - ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร
                - มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรืออยู่ในเขตชลประทาน
                - การคมนาคมสะดวก

ลักษณะดิน:
                - ดินร่วน, ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย
                - มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี
                - ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร
                - ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.0-7.0
สภาพภูมิอากาศ:
                - อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ระหว่าง 25-35 องศาเซนเซียส
                - ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี
                - ไม่มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจำ
                - มีแสงแดดจัด
แหล่งน้ำ:
                - มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก
                - เป็นแหล่งน้ำสะอาด ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำระหว่าง 5.0-9.0

พันธุ์
                กล้วยไข่มี 2 สายพันธุ์ คือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร และกล้วยไข่พระตระบอง
พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้าคือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
                1. กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลหรือช๊อกโกแลต ร่องก้านใบเปิดและขอบก้านใบขยายออก ใบมีสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล ก้านเครือมีขนขนาดเล็ก ผิวเปลือกผลบาง ผลเล็ก เนื้อมีสีเหลือง รสชาติหวาน
                2. กล้วยไข่พระตะบอง
ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลปนดำ สีของใบเข้มกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร รสชาดจะออกหวานอมเปรี้ยว และผลมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

การปลูก
การเตรียมดิน:
               - วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน และความเป็นกรดด่างของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก
                - ไถพรวน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช
                -  คราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง


ฤดูปลูก:
                - ช่วงเวลาการปลูก ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประมาณเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน
วิธีการปลูก:
                - ปลูกด้วยหน่อใบแคบที่มีความสมบูรณ์ดี
                - เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร
                - รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอัตรา 5 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับหน้าดินรองก้นหลุมปลูกถ้ามีการไว้หน่อ (ratoon) เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปอีก 1-2 รุ่น ควรรองก้นหลุมด้วย หินฟอสเฟต อัตรา 100-200 กรัม/หลุม
                - ระยะปลูก (1.5-1.75) x2 เมตร เป็นการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว แล้วรื้อปลูกใหม่ 2x2 เมตรเป็นการปลูกสำหรับไว้ตอหรือหน่อ (ratoon) เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตของหน่อ (ratoon) อีก 1-2 รุ่น
                - การปลูก วางหน่อพันธุ์ที่หลุมปลูกให้ลึก 25-30 เซนติเมตร โดยจัดวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ติดกับต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน กลบดินลงหลุมปลูกและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา

การพรวนดิน:
                ภายหลังปลูกกล้วยไข่ประมาณ 1 เดือนควรรีบทำการพลิกดินให้ทั่วทั้งแปลงปลูก เพื่อให้ดินเก็บความชื้นจากน้ำฝนไว้ให้มากที่สุด และเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย ขณะที่รากกล้วยยังขยายไปไม่มากนัก

การกำจัดวัชพืช:
                ควรกำจัดวัชพืชปีละ 3 ครั้ง ครั้งแรกพร้อม ๆ กับการพลิกดิน ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 ให้พิจารณา จากปริมาณวัชพืช แต่จะทำก่อนที่ต้นกล้วยตกเครือ

การให้ปุ๋ย:
                ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ครั้ง เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูกอัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปุ๋ยเคมี 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่กล้วยมีการเจริญเติบโตทางลำต้น ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง หลังจากปลูก 1 และ 3 เดือน การให้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 3 และ 4 จะให้ปุ๋ยเคมีภายหลังจากปลูก 5 และ 7 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่กล้วยใกล้จะให้ผลผลิต จะให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-24, 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง  วิธีการใส่ปุ๋ยเคมี โรยห่างจากต้นประมาณ 30 เซนติเมตร หรือใส่ลงในหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร 4 ด้าน แล้วพรวนดินกลบ

การให้น้ำ:
                ในฤดูฝน เมื่อฝนทิ้งช่วง เมื่อสังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตก ควรรีบให้น้ำในฤดูแล้งเริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน ประมาณปลายเดือนมกราคม-พฤษภาคมหรือใช้วิธีปล่อยให้น้ำไหลเข้าไปในแปลงย่อยเป็นแปลง ๆ เมื่อดินมีความชุ่มชื้นดีแล้ว จึงให้แปลงอื่นต่อไป



บทที่  3
การดำเนินงาน
วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ
          การดำเนินการโครงงานแบ่งออกเป็น  4  ระยะ  ดังนี้
                    ระยะที่ 1  รวบรวมข้อมูลในการทำโครงงานน้ำหมักกล้วยไข่
                    ระยะที่ 2  นำข้อมูมาสรุปผลและทำการหมักน้ำหมักกล้วยไข่
                    ระยะที่ 3  นำผลที่ได้จากการหมักกล้วยไข่ไปใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ที่วางไว้
                    ระยะที่ 4  สรุปผลและการทดลองที่ได้
               
ระยะที่ 1  รวบรวมข้อมูลในการทำโครงงานน้ำหมักกล้วยไข่
                                ได้จัดแบ่งหน้าที่ในการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลพร้อมกับการเตรียมวัสดุอุปกรในการทำน้ำหมักชีวภาพ  โดยอาศัยการแนะนำและให่คำปรึกษาจากคุณครูวิรัตน์ ระหว่างบ้าน  เป็นผู้ให้คำแนะนำและแนวทางการดำเนินงาน  สำหรับข้อมูลที่ต่างฝ่ายต่างไปเก็บมาจากหลายแหล่งที่มาทั้งในห้องสมุดโรงเรียน  อินเตอร์เน็ต  วารสารต่างๆ  และได้ศึกษาพร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำน้ำหมัก  เพื่อให้การทำน้ำหมักเกิดผลดีและมีประสิธิภาพ  และยังศึกษาสูตรและปริมาณของการทำน้ำหมัก  โดยพบสูตรที่เป็นมาตรฐาน คือ 3 : 1 : 5  ซึ่งเป็นสูตรมาตรฐานที่ใช้ในการหมัก  โดยในสูตรมาตรฐานนี้มีความหมาย คือ ในส่วนแรกจะหมายถึงส่วนของวัตถุดิบที่จะนำมาหมัก  ส่วนที่สองหมายถึงน้ำตาล(ในที่นี้ใช้น้ำตาลอ้อย) และส่วนที่สามหมายถึงส่วนของน้ำเปล่า  และได้จัดหางบประมาณโดยเรียกเก็บจากสมาชิกภายในกลุ่มเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ในการทำน้ำหมัก  โดยมีรายละเอียดดังนี้
งบประมาณ
                    งบประมาณ  จำนวน  500  บาท  ได้มาจากการรวบรวมจากกลุ่ม  โดยนำไปลงทุนในการซื้ออุปกร  ดังนี้
น้ำหมักชีวภาพ “กล้วยไข่”
ที่
รายการซื้อ
จำนวน
ราคา
รวมเงิน
1.
กล้วยไข่
6  กก.
20
120
2.
น้ำตาลอ้อย
2  กก.
36
64
3.
น้ำ
10  ลิตร
1
10
4.
ถังหมัก
10  ลิตร
120
120
5.
อื่นๆ
-
-
-
รวมเป็นเงิน
314
ยอดคงเหลือ
186

ระยะที่ 2  นำข้อมูมาสรุปผลและทำการหมักน้ำหมักกล้วยไข่
                                หลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาแล้ว  ได้นำข้อมูลที่เก็บได้ดังกล่าวมาสรุปและวิเคราะ  เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานและเพื่อให้เกิดงานที่มีประสิทธิภาพ  โดยจะนำข้อมูลของแต่ละบุคคลที่ได้มอบหมายและแบ่งหน้าที่ให้ไปหาข้อมูล  และใช้ข้อมูลการทำนำหมักมาเรียบเทียบเพื่อหาสูตรการทำน้ำหมักและวัสดุอุถปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในการทำน้ำหมัก 
น้ำหมักชีวภาพ(เอนไซม์) ใช้ดื่มกินเป็นสารโปรตีน วิตามินเอ, บี, ซี, ดี, อี, เค, อะมิโนแอซิค(Amino acid) และ อะเซทิลโคเอ (Acetyl Coa) ที่ได้จาก หมักผลไม้นานาชนิด โดยมี จุลินทรีย์ท้องถิ่น หลากหลายชนิด ปะปนอยู่ใน กระบวนการหมัก เพื่อเปลี่ยนผลไม้ + น้ำผึ้ง + น้ำ ระยะเริ่มแรกเป็นแอลกอฮอล์ ระยะต่อมา เป็นน้ำส้มสายชู (รสเปรี้ยว) อีกระยะหนึ่งเป็นยาธาตุ (รสขม) ในที่สุดเป็นน้ำหมักชีวภาพ (เอ็นไซม์) ซึ่งใช้เวลาหมักขยายประมาณ ๒ ปี กรณีจะนำไปดื่มกินควรผ่านการหมักขยายเป็นเวลา ๖ ปีขึ้นไป  แต่ในการทำน้ำหมักนี้ได้ทำขึ้นเป็นชุดแรกและทำในระยะเวลาที่จำกัด  จึงได้จัดทำเพื่อนำมาทดลองที่เป็นการทดลองที่พอจะเห็นผล  โดยจะเก็บน้ำหมักนี้เพื่อให้รุ่นต่อไปได้จัดทำและดำเนินงานต่อ
วัสดุอุปกรณ์ในการทำ
                    1.  กล้วยไข่
                    2.  น้ำตาลอ้อย
                    3.  น้ำถังหมัก
                    4.  ไม้พาย
                    5.  เครื่องชั่ง
                    6.  อุปกรณ์ตวง

การทำน้ำหมักกล้วยไข่
โดยการนำวัดถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมไว้  ล้างทำความสะอาดเช็ดให้แห้งแล้วนำเอา
กล้วยไข่ 6 ส่วน น้ำตาล 2 ส่วน น้ำ 10 ส่วน  ใส่รวมกันในถัง ที่มีฝาปิดสนิทอย่าให้อากาศเข้า โดยเว้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของถัง













4. กวนส่วนผสมเล็กน้อยให้ทุกอย่างเข้ากันและเพื่อให้น้ำตาลละลาย  แล้วปิดผานำไปเก็บ

3.  เทนำเปล่าจำนวน 10 ลิตร ลงบนกล้วยและน้ำตาลที่เตรียมไว้ในถังหมัก

2.  นำกล้วยไข่ที่ล้างแล้วมาใส่ในถังหมักขนาด 10 ลิตร  แล้วเทน้ำตาลอ้อย 2 กิโลลงในถังบนกล้วย

1.  ล้างกล้วยไข่ที่เตรียมไว้จำนวน  กิโลกรัม
 
ระยะที่ 3  นำผลที่ได้จากการหมักกล้วยไข่ไปใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ที่วางไว้
1.  เพื่อนำน้ำหมักกล้วยไข่ที่หมักไว้  เดือน  ไปใช้แช่เท้ากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 คน  เพื่อศึกษาคุณสมบัติของน้ำหมักในการดับกลิ่นเท้า
                2.  เพื่อนำน้ำหมักกล้วยไข่ที่หมักไว้ 3 เดือน  ไปใช้ล้างจานที่บ้านของสมาชิกในกลุ่ม  คนละ 6 ใบ  เป็นจำนวน 5 ครั้ง

น้ำหมักกล้วยไข่ดับกลิ่นเท้า
                กระบารการ
                                กลุ่มผู้จัดทำมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น  คน  โดยได้เสนอแนวทางและปรึกษาหาปัญหาที่ต้องการทดลอง  ได้มีข้อเสนอหลายประการ  เช่น  ซักผ้า  ล้างหน้า  สระผม  เป็นต้น  แต่ในข้อเสนอเหล่านี้เป็นเพียงข้อเสนอเพื่อเป็นแนวทางและเพื่อเป็นแนวคิดสำหรับการดำเนินงาน  และสุดท้ายได้มีข้อเสนอที่ว่า  ใช้น้ำหมักในการดับกลิ่นเท้า  จึงได้ร่วมกันพิจารณา  หาบุคคลทดสองซึ่งได้สอบถามกับสมาชิกภายในกลุ่มเพื่อหาบุคคลตัวอย่างเพื่อมาทดลองในการทำการทดลอง  น้ำหมักกล้วยไข่ดับกลิ่นเท้า  และผลสรุปที่ออกมาคือสมาชิกได้เสนอให้มีการทดลองกับสมาชิกภายในกลุ่ม  ซึ่งสมาชิกต่างก็มีความคิดเห็นที่ตรงกันจึงได้มีการทดลอง  น้ำหมักกล้วยไข่ดับกลิ่นเท้า  โดยมีการทดลองดังนี้
                การทดลอง “น้ำหมักดับกลิ่นเท้า”
การทดลองจะใช้การทดลองเป็นเวลา 1 สัปดาห์  และใช้บุคคลทดลองจำนวน 6 คน  ซึ่งแต่ละคนเป็นสมาชิกภายในกลุ่มได้แบ่งให้ไปทดลองแล้วนำการทดลองของแต่ละบุคคลมาประเมิณและบันทึกผลการทดลอง
อุปกรณ์
                                1.  น้ำหมัก
                                2.  น้ำสะอาด
3.  อ่างแช่เท้า




     วิธีการทดลอง
                  การทดลองมีระยะเวลา  สัปดาห์  โดยเริ่มการทดลองตั้งแต่วันที่  เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ.  2552  ถึง  วันที่  เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ.  2556  โดยมีการดำเนินการดังนี้
ตาราง  แสดงการดำเนินงานการทดลอง  “น้ำหมักกล้วยไข่ดับกลิ่นเท้า”
บุคคลทดลอง
วิธีการทดลอง
ระยะเวลาการทดลอง
นายพัชรพงษ์  อนุเคราะห์
ใช้น้ำหมักกล้วยไข่ในปริมาณ  200  มิลลิลิตร ต่อ น้ำ 3 ลิตร ผสมรวมกันในอ่างแล้วนำเท้าลงไปแช่ในอ่าง แช่ทิ้งไว้ 5-10 นาที
2-8  กุมภาพันธ์ 2556
นายสิทธิกร  กะชิรัมย์
ใช้น้ำหมักกล้วยไข่ในปริมาณ  200  มิลลิลิตร ต่อ น้ำ 3 ลิตร ผสมรวมกันในอ่างแล้วนำเท้าลงไปแช่ในอ่าง แช่ทิ้งไว้ 5-10 นาที
2-8  กุมภาพันธ์ 2556
นายปฐมพร  เครือเพชร
ใช้น้ำหมักกล้วยไข่ในปริมาณ  200  มิลลิลิตร ต่อ น้ำ 3 ลิตร ผสมรวมกันในอ่างแล้วนำเท้าลงไปแช่ในอ่าง แช่ทิ้งไว้ 5-10 นาที
2-8  กุมภาพันธ์ 2556
นายวรรณชนะ  ดีสม
ใช้น้ำหมักกล้วยไข่ในปริมาณ  200  มิลลิลิตร ต่อ น้ำ 3 ลิตร ผสมรวมกันในอ่างแล้วนำเท้าลงไปแช่ในอ่าง แช่ทิ้งไว้ 5-10 นาที
2-8  กุมภาพันธ์ 2556
นายอนุพงษ์  พริ้งเพราะ
ใช้น้ำหมักกล้วยไข่ในปริมาณ  200  มิลลิลิตร ต่อ น้ำ 3 ลิตร ผสมรวมกันในอ่างแล้วนำเท้าลงไปแช่ในอ่าง แช่ทิ้งไว้ 5-10 นาที
2-8  กุมภาพันธ์ 2556
นางสาวสุกัญญา  สุดฉลาด
ใช้น้ำหมักกล้วยไข่ในปริมาณ  200  มิลลิลิตร ต่อ น้ำ 3 ลิตร ผสมรวมกันในอ่างแล้วนำเท้าลงไปแช่ในอ่าง แช่ทิ้งไว้ 5-10 นาที
2-8  กุมภาพันธ์ 2556




น้ำหมักกล้วยไข่ดับกลิ่นคาวที่ติดกับจาน
                                กระบวนการ
                เป็นปัญหาที่ฉุกคิดขึ้นมา  เนื่องจากรับประทานอาหาร  เช่น  ปลา  เนื้อวัว  หรืออาหารทะเล  ที่มีกลิ่นคาวของอาหารติดกับจานและช้อนรวมทั้งติดมือ  ซึ่งหลานคนไม่ค่อยชอบและไม่ถูกใจกับจานช้อนที่มีกลิ่นคาวมาก  เพราะจะทำให้อาหารมื้อนั้นๆ หมดความอร่อยและหมดอารมณ์ในการทานอาหาร
                อุปกรณ์
                1.  น้ำหมักกล้วยไข่                            200         มิลลิลิตร
                2.  อ่างล้างจาน                    3              อ่าง
                4.  จานที่ใช้รับประทานอาหารแล้วแล้ว  (ใช้จาน 5 ใบ)
การทดลอง
     การทดลองน้ำหมักกล้วยไข่ใช้ดับกลิ่นคาวในภาชนะ มีการดำเนินงานโดยจะใช้เวลา 1 สัปดาห์ในการทดลอง  โดยเริ่มวันที่  เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.  2556 ถึง  วันที่  8 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556  โดยมีการทดลองและดำเนินงานดังนี้
                1.  เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วให้นำจานจำนวน 5 ใบแยกไว้เพื่อทดลอง
                2.  ผสมน้ำหมักกล้วยไข่ในอ่างล้างจาน ใช้ปริมาณน้ำหมัก 100 มิลลิลิตร ต่อ น้ำ 5 ลิตร
                3.  ใช้จาน 5 ใบที่แยกไว้ นำมาแช่ในน้ำหมักเป็นเวลาประมาณ 5-10 นาที
                4.  ถูจานและล้างด้วยน้ำเปล่าอย่างน้อย 2-3 น้ำ แล้วน้ำไปเช็ดให้แห้ง
                5.  ทดสอบกลิ่นแล้วบันทึกผล
บทที่  4
ผลการดำเนินงาน
                การดำเนินงานที่ผ่านมาทางกลุ่มผู้จัดทำได้ใช้ผลผลิตที่ได้จากการหมักกล้วยไข่มีผลการดำเนินการตามที่วางเป้าหมายไว้ในจุดประสงค์ 
การติดตามบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงของน้ำหมักกล้วยไข่
                1.  วันแรกที่เริ่มทำ  วันที่  16  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2555
                                นำเป็นสีน้ำตาลเข้มอมดำเล็กน้อย  กล้วยลอยบ้างจมบ้างเป็นบางผล  กลิ่นหอมน้ำตาลอ้อย  และการรวมรวมของทุกอย่างยังไม่มีการเปลี่ยงแปลง
                2.  สัปดาห์ที่  วันที่  23  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2555
                                พบว่าน้ำตาลที่เป็นเนื้อเดียวกับน้ำมีการเปลี่ยนแปลง  โดยการเปลี่ยนแปลงที่พบคือน้ำตาลเริ่มตกตะกอน  สีของน้ำเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเข้มอมดำเริ่มเป็นสีน้ำตาลเข้มปกติ  กล้วยลอยตัวทุกผล
                3.  สัปดาห์ที่  วันที่  30  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2555
                                หลังจากผ่านมา  2  สัปดาห์  พบว่าตะกอนก้นถังเห็นชัดมากขึ้นซึ่งตะกอนที่เกิดเป็นตะกอนจากน้ำตาล  สีของน้ำยังคงเป็นสีน้ำตาลปกติ  กล้วยลอยตัวและเรียงตัวกันแบบแนบชิดเป็นระเบียบ
                4.  สัปดาห์ที่  3  วันที่  7  เดือน  ธันวาคม  พ.ศ.  2555
                                พบการตกตะกอนของน้ำตาลอย่างชัดเจน  สีของน้ำเป็นสีน้ำตาลและสีของน้ำเริ่มไล่ระดับสีจากใต้ถังซึ่งมีตะกอนและสีจะเข้มมากจากใต้ถังขึ้นมาเรื่อยๆ  น้ำเริ่มมีสีอ่อนลงและจะมีความใสของน้ำเมื่อถึงบริเวฌเหนือผิวน้ำ  กล้วยยังคงเป็นปกติ  แต่เริ่มมีกลิ่นที่คล้ายกลิ่นเปรี้ยวออกมาเล็กน้อย
                5.  สัปดาห์ที่  4  วันที่  14  เดือน  ธันวาคม  พ.ศ.  2555
                                ในสัปดาห์นี้พบว่าตะกอนที่อยู่ใต้ถังมีสีเข้มจนมองเห็นเป็นสีที่คล้ายสีดำและเหนือตะกอนเป็นสีขาวขุ่นใสๆ  น้ำในถังมีความใสและดปร่งแสงมากขึ้นสีของน้ำเป็นสีน้ำตาลไม่ค่อยเข้มมากนัก  กล้วยและเหนือผิวน้ำเริ่มมีผังผืดที่มีเส้นโยงต่อกันคล้ายใยแมงมุมแต่ยังมองเห็นไม่ค่อยชัด  กลิ่นของน้ำมีกลิ่งแรงมากกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา  เริ่มมีไอน้ำก่อตัวอยู่กับฝาถัง
                6.  สัปดาห์ที่  5  วันที่  21  เดือน  ธันวาคม  พ.ศ.  2555
                                พบว่าตะกอนใต้ถังมีสีเข้มและมีปริมาณมากเหนือชั้นของตะกอนมีสีขาวขุ่นๆ  น้ำมีความใส้ซึ่งจะเป็นสีน้ำตาลใส  เหนือผิวน้ำและกล้วยมีผังผืดที่เริ่มชัดเจนจนสังเกตได้ว่าผังผืดที่ขึ้นเป็ราขาวซึ่งเกาะอยู่บริเวณกล้วยและโยงเชื่อมต่อกัน  มีกลิ่นฉุนและแรงมากกว่าเดิม  มีน้ำฝาถังจนสังเกตได้ชัดเจน
                7.  สัปดาห์ที่ 6  วันที่  28  เดือน  ธันวาคม  พ.ศ.  2555
                                พบว่าตะกอนใต้ถังแบ่งชั้นกันอย่างชัดเจนโดยตะกอนที่มีสีเข้มจะอยู่ใต้สุดและมีความหนามากกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เหนือชั้นผิวตะกอนเป็นสีขาวขุ่นและน้ำของน้ำหมักเป็นสีน้ำตาลใส  กล้วยเป็นสีดำและมีราขาวเกาะรอบๆกล้วยมากจนเห็นได้ชัด  มีน้ำฝาถังในปริมาณมาก
                8. สัปดาห์ที่  7  วันที่  4  เดือน  มกราคม  พ.ศ.  2556
                                พบว่าตตะกอนที่อยู่ด้างล่างเริ่มมีสีที่กลมกลืนกันและตะกอนที่มีสีขาวขุ่นเริ่มกลายเป็นสีน้ำตาล  น้ำเป็นสีน้ำตาลใส  กล้วยมีสีดำสัมผัสกล้วยพบว่ากล้วยยังคงมีเนื้อที่แข็งยังไม่เปื่อยยุ่ย  เหนือผิวน้ำมีราสีขาว  กลิ่นของน้ำหมักมีกลิ่นที่แรงแต่กลิ่นจะมีเอกลักษณ์ของกล้วยไข่ที่หมัก  น้ำฝาถังมีปริมาณที่มากแต่ไม่ได้เก็บ เพราะไม่ได้ใช้ในการทดลอง
                9.  สัปดาห์ที่  8  วันที่  11  เดือน  มกราคม  พ.ศ.  2556
                                ตะกอนใต้น้ำเริ่มสังเกตยากว่าแยกชั้นกัน เพราะตะกอนมีสีที่คล้ายกัน  น้ำก็ยังคงมีสภาพเหมือนในสัปดาห์ที่แล้ว  ที่ยังคงเป็นสีน้ำตาลใส  กล้วยมีสีดำและราขาวขึ้นรอบๆกล้วย  มีกลิ่นหอมของกล้วยซึ่งไม่ค่อยเหม็นเหมือนที่ผ่านมา  น้ำฝาถังมีมากและทดลองชิมพบว่ารสชาติของน้ำฝาถังจะมีรสชาติเปรี้ยวฉุนและมีรสชาติที่เปรี้ยวและเมื่อกลืนเข้าไปจะมีความร้อนผ่าวๆคล้ายกินไวน์ที่มีแอลกอร์ฮอลอ่อนๆ  มีกลิ่นหอมของกล้วย  รสชาติของน้ำหมักจะเปรี้ยวและมีความหวานปนเล็กน้อยพร้องทั้งมีความหอมของกล้วยไข่ที่ใช้หมัก
                10. สัปดาที่  9  วันที่  18  เดือน  มกราคม  พ.ศ.  2556
                                สำหรับตะกอนและน้ำหมักยังคงสภาพเหมือนเดิมจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  แต่กล้วยและราขาวที่เกาะอยู่มีการเปลี่ยนแปลง คือ กล้วยบางผลเริ่มจมลงใต้น้ำและกล้วยมีผิวสัมผัสที่อ่อนนุ่มเปลี่ยนจากเมือตอนครั้งแรกๆที่จับส่วนราขาวที่อยู่เหนือน้ำมีความหนามากโดยเฉพาะบริเวณรอบๆกล้วย  น้ำฝาถังมีมากและรสชาติเริ่มมีความแรงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  รสชาติของน้ำหมักมีความเปรี้ยวอมหวานและกลิ่นหอมกล้วยออกมามากจนมีความหอมกล้วยที่โดดเด่น
                11.  สัปดาห์ที่  10  วันที่  25  เดือน  มกราคม  พ.ศ.  2556
                                ในสัปดาห์นี้ทางกลุ่มผู้จัดทำสังเกตว่าน้ำหมักคงตัวมีความเปลี่ยนแปลงของน้ำลดลง  แต่กล้วยที่เหนือผิวน้ำยังคงมีการเปลี่ยนแปลง  ราขาวที่เกาะมีความหนามากขึ้นและกล้วยจะมีบางผลที่มีการจมลงสู้
พื้นล่างของถัง  น้ำฝาถังมีมากขึ้นจากที่ผ่านมา  กลิ่นหอมอ่อนๆที่โดดเด่นด้วยกล้วยที่ใช้หมัก  รสชาติเปรี้ยวอร่อยกินง่ายกว่าเดิม  และในสัปดาห์นี้ทางกลุ่มผู้จัดทำได้มีการเก็บน้ำหมักเพื่อมาใช้ในการทดลอง  ตามที่วัตถุประสงค์ได้วางไว้

ผลการทดลอง “น้ำหมักกล้วยไข่ดับกลิ่นเท้า”
     หลังจากการทำน้ำหมักแล้ว  ได้นำเอาน้ำหมักมาทำการทดลองในเรื่องการกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ท่าเกิดจากร่างการ ในที่นี้ได้ทดลองใช้น้ำหมักกล้วยไข่ดับกลิ่นเท้า  โดยมีผลที่เกิดหลังจากการทดลอง ดังนี้
                วันที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
     พบข้อเปลี่ยนแปลงคือ เมือแช่เท้าลงไปในน้ำหมักผสมกับน้ำแล้วมีผลที่เกิดกับเท้าหลังการแช่ที่ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที  เท้ามีความนุ่มและสะอาดตั้งแต่ครั้งแรกแต่กลิ่นเท้ายังไม่ค่อยหายมากนักและยังมีกลิ่นน้ำหมักปนอยู่ด้วย
                วันที่ 3 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
     พบว่าการเปลี่ยงแปลงของเท้าภายหลังการแช่มีความนุ่มและเท้ามีความสะอาดมากขึ้นโดยใช้เวลาในการแช่เท้าประมาณ 5-10 นาที  แล้วน้ำเท้าไปล้างน้ำเปล่าและให้ผู้ทดสอบทดสอบกลิ่นพบการเปลี่ยนแปลงจากวันที่ผ่านมา  พบว่าเท่าเริ่มมีกลิ่นที่อ่อนลงไม่ค่อยแรงเหมือนครั้งแรกแต่ยังคงมีกลิ่นของน้ำหมักกล้วยไข่  ติดอยู่เช่นเคยแต่มีกลิ่นที่อ่อนกว่า เพราเมื่อแช่เสร็จแล้วได้นำเอาเท้าผู้ทดลองไปล้างน้ำเปล่าแล้วเช็ดให้แห้ง
                วันที่ 4 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
     พบว่าเท้าที่นำไปแช่นั้นมีความอ่อนนุ่มและสะอาด  ในครั้งนี้ใช้เวลาในการแช่เท้าประมาณ 5-10 นาที  แต่คราวนี้ไม่ได้ล้างเท้าหลังจากแช่แต่เช็ดเท้าแทน และผู้ทดลองได้พิสูจน์กลิ่น พบว่ากลิ่นเท้าไม่มีแต่มีกลิ่นอ่อนๆ ของน้ำหมักกล้วยไข่ จึงพบว่าถ้าล้างเท้าด้วยน้ำเปล่าหลังแช่แล้วเช็ดให้แห้งจะมีกลิ่นเท้าลดลงและกลิ่นน้ำหมักกล้วยไข่ก็น้อยลง

                วันที่  5 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
     พบการเปลี่ยนแลงของการแช่เท้าที่ไม่ค่อยมีอะไรเด่นชัดนักแต่สำหรับกลิ่นเท้าเริ่มมีการเปลี่ยนแลงเพราภายหลังจากการใช่ต่อเนื่อมาเป็นเวลา 3 วัน อาการของผู้ที่มีกลิ่นเท้าที่ค่อนข้างแรงในวันนี้หลังจากการแช่เท้าไปเป็นเวลา 10 นาที  แล้วล้างด้วยน้ำเปล่าและเช็ดเท้าให้แห้งแล้วสอบถามจากผู้ทดลองพบว่ากลิ่นเท้าหายจาอาการกลิ่นเท้าเหม็นแต่ก็ยังคงมีกลิ่นออกมาบ้างยังหายไม่สนิท
                วันที่ 6  เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
     พบการเปลี่ยนแปลงของกลิ่นเท้าที่มีกลิ่นจากวันแรกก่อนทดลองในวันนี้หลังจากการทดลองแช่เท้า 10 นาที  และนำน้ำเปล่ามาล้างหลังจากแช่แล้วนำผ้ามาเช็ดให้แห้งแล้วสอบถามผู้ทดลองพบว่าอาการกลิ่นเท้าเหม็นมีการลดลงและมีแนวโน้มที่จะหายจากกลิ่นเท้าที่ไม่พึงประสงค์
                วันที่ 7 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
     พบการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดเนื่องจากการแช่เท้าที่เป็นประจำและต่อเนื่องในวันนี้ใช้เวลาแช่เท้า 10 นาที  แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง พบว่าเท้าของผู้ทดลองเมื่อสัมผัสมีความอ่อนนุ่มและสอบถามจากผู้ทดลองในเรื่องของกลิ่นเท้าพบว่ากลิ่นเท่าบรรเทาลง
                วันที่ 8 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
     ในวันนี้เป็นวันสุดท้ายที่ทำการทดลองพบว่าเท้าของผู้ทดลองนั้นมีความเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะเท้านั้นมีความนุ่มและเนียนเมื่อแช่เท้าและหลังจากการแช่เท้าในวันนี้ได้ใช้เวลาในการแช่เท้า 10 นาที  สอบถามและเก็บผลจากผู้ทดลองพบว่าการแช่เท่าแล้วล้างน้ำสะอาดและใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง มีผลดีและทำให้เท้าหายมีกลิ่นและสะอาดมากขึ้นและเห็นผลดีง่ายและเร็ว




ผลการทดลอง “น้ำหมักกล้วยไข่กำจัดกลิ่นคาวในภาชนะ”
     เมื่อหมักน้ำหมักแล้วและได้ทำการทดลองดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากร่างกายไปแล้ว ต่อมาได้ทำการทดลองที่มีกลิ่นที่เกิดจากภาชนะและสิ่งของใช้ในครัว  โดยในที่นี้ใช้จานใส่อาหารมาทำการทดลองโดยมีผลที่เกิด ดังนี้
                วันที่  เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
     ในการทดลองครั้งแรกยังมีผลที่ไม่ดีตามที่คาดหวังมากนัก  เนื่องจากใช้น้ำหมักน้อยแต่อย่างไรก็ตามผลที่ออกมาก็ยังถือว่าใช้ได้  คราบนำมันที่ติดกับจานหลังจากการแช่พบว่าหายไปและเมื่อล้างเสร็จเช็ดให้แห้งยังมีกลิ่นติดอยู่เล็กน้อยสำหรับกลิ่นของอาหารแต่ที่มีกลิ่นเด่นคือกลิ่นของน้ำหมักกล้วยไข่
วันที่  เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
     วันนี้ทดลองโดยใช้ปริมาณน้ำหมักมากกว่าวันที่ผ่านมา  พบว่าจานเมื่อแช่ลงไปคราบมันหลุดออกง่ายกว่าเมื่อวานและล้างง่ายเมื่อล้างเสร็จแล้วนำจานมาเช็ดแล้วทดสอบกลิ่นพบว่ามีกลิ่นน้ำหมักกล้วยไข่ติดอยู่  จึงมีการวางแผนเพื่อทำให้กลิ่นนั้นหาย
วันที่  เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
     จากสาเหตุที่มีกลิ่นน้ำหมักกล้วยไข่ติดดกับจานหลังจากวันนี้ที่ได้ทำการล้างจานเสร็จแล้ว ได้เช็ดจานให้แห้งและเก็บไว้เป็นเวลา 2 ชั่วโมง  พบว่ากลิ่นของน้ำหมักกล้วยไข่จางลงและกลิ่นคาวก็หายไปด้วย
วันที่  เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
     เมื่อพบปัญหาและแก้ปัญหาที่ทำให้จานนั้นมีกลิ่นของน้ำหมักกล้วยไข่จึงได้ทำการทดลองมาเรื่อยๆ โดยใช้ปริมานน้ำหมักที่มากกว่านำและนำจานลงไปแช่โดยใช้จานจำนวน 5 ใบในการทดลองทุกครั้ง พบว่าผลที่ออกมีความคงที่และได้ทำการทดลองนี้จนครบตามระยะเวลาที่กำหนดในการทำการทดลองในเรื่องการใช้น้ำหมักกล้วยไข่ดับกลิ่นคาวในภาชนะ ตั้งแต่วันที่ 2-8 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



บทที่  5
สรุปผล
                ในการทำการดำเนินการทำน้ำหมักและทดลองในส่วนต่างๆ ได้มีผลสรุปของการดำเนินงานดังที่ผ่านมาสรุปไว้เพื่อความเข้าใจและให้เกิดความจำในส่วนหลักๆ ของโครงงานซึ่งมีผลสรุปที่เน้นให้เข้าใจง่ายขึ้น  การทำน้ำหมักกล้วยไข่ได้มีแนวคิดจากการชมรายการทีวี  จากการเรียนการสอนของครูอาจารย์ ซึ่งใช้เป็นแนวคิดและแนวทางในการทำน้ำหมักกล้วยไข่ โดยกล้วยไข่มีสรรพคุณที่โดดเด่นคือระบายท้อง  ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องตัว  และในการทำน้ำหมักกล้วยไข่นี้ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน  ซึ่งมีวัตถุประสงค์อยู่ด้วยกันสองข้อคือ
ประการแรกคือนำน้ำหมักกล้วยไข่ที่หมักไว้  เดือน  ไปใช้แช่เท้ากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 คน 
เพื่อศึกษาคุณสมบัติของน้ำหมักในการดับกลิ่นเท้า  พบผลที่เป็นไปในทางที่ดีคือน้ำหมักกล้วยไข่ใช้ดับกลิ่นเท้าได้ดีอย่างที่คาดไว้  ซึ่งใช้เวลาในการทำการทดลองเพียง 1 สัปดาห์  สิ่งที่พบและผลที่เกิดคือทำให้กลิ่นเท้าที่เคยมีจางหายและเมื่อใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่องจะทำให้กลิ่นเท้าหายจากกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้ 
ในประการที่สองคือนำน้ำหมักกล้วยไข่ที่หมักไว้ 3 เดือน  ไปใช้ล้างจานที่บ้านของสมาชิกในกลุ่ม  คนละ 6 ใบ  เป็นจำนวน 5 ครั้ง  ในการทดลองนี้จะเห็นผลได้ชัดเมื่อทดลองเป็นครั้งแรกเพราะคราบมัน
ที่เกาะอยู่กับจานหลุดออกอย่างง่ายดายแต่กลิ่นคาวยังคงติดอยู่  จึงมีการปรับเปลี่ยวแนววิธีการทดลองและประสบผลสำเร็จได้อย่างดีทีเดียวภายหลังการปรับเปลี่ยนแนวการทดลองจนกระทั่ง  คราบมันและกลิ่นคาวที่ติดอยู่กับจานชามหายไปถือเป็นผลที่เกิดกับการทดลองที่ดีอย่างมาก
อุปสรรค์ในการดำเนินงาน
                1.  การจัดหาอุปกรณ์และซื้อวัตถุดิบในการทำงาน  รวมทั้งการรวบรวมเงินทุน
                2.  การทำการทดลองที่ขาดความรู้ในการทดลอง
                3.  การทดลองที่ต้องมาคำนวนและคาดคะเนปริมาณกันเองโดยไม่มีแบบหรือปริมาณการทดลองจากที่อื่นเพื่อเป็นแนวทางในการทำการทดลอง
ข้อเสนอแนะ
                1.  ควรทำการหมักน้ำหมักให้เป็นเวลานานอย่างน้อย 1-2 ปี  เพื่อให้น้ำหมักนั้นมีประสิทธิภาพและเห็นผลเมื่อนำมาใช้ได้เร็ว
                2.  การแช่เท้าควรทำเป็นประจำและต่อเนื่อง  โดยใช้เวลาแช่อย่างน้อย 5 นาที  แต่ไม่ควรแช่นานกว่า 15 นาที เพราะอาจจะทำให้เล็บเน่าและเล็บขบได้
                3.  ในการล้างจานชามเพื่อดับกลิ่นเท้า  ควรใช้น้ำหมักให้มาก ๆ เพื่อให้การขจัดคราบมันและกลิ่นหลุดออกได้ง่ายและเห็นผลที่ดีและทำให้ได้ผลที่มากด้วยประสิทธิภาพ
            4.  ในการทำน้ำหมักครั้งแรกจะมีแก๊สมาก ควรเปิดภาบ่อยๆ เพื่อป้องกันการระเบิดออกของฝาถัง















ภาคผนวก



การท้ำน้ำหมักในสูตรต่างๆ
การทำ น้ำหมักชีวภาพดับกลิ่น เป็นการใช้เศษอาหาร พืชผัก ผลไม้ที่เหลือทิ้ง ๓ ส่วน กากน้ำตาลหรือโมลาส ๑ ส่วน และน้ำ ๑๐ ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะ (ขวด, ถัง) ที่มีฝาปิดสนิท โดยเว้นที่ว่างไว้ประมาณ ๑ ใน ๕ ของ ขวด/ถัง หมั่นเปิดฝาคลายแก๊สออกและปิดกลับให้สนิททันที วางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้ ๓ เดือน เราจะได้น้ำหมักชีวภาพดับกลิ่น ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ กลิ่นปัสสาวะสุนัข ฯลฯ
การทำ น้ำหมักชีวภาพซักผ้า / ล้างจาน เป็นการใช้ ผลไม้ เปลือกผลไม้ (ฝักส้มป่อย , มะคำดี ควาย , มะนาว ฯลฯ) ๓ ส่วน น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลอ้อย ๑ ส่วน และน้ำ ๑๐ ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะ (ขวด, ถัง) ที่มีฝาปิดสนิท โดยเว้นที่ว่างไว้ประมาณ ๑ ใน ๕ ของขวด/ถัง หมั่นเปิดฝา คลายแก๊สออกและปิดกลับให้สนิททันที วางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้ ๓ เดือน เราจะได้น้ำหมักชีวภาพซักผ้า / ล้างจาน (แม้ผ้ามีราขึ้นเป็นจุดดำๆ แช่ผ้าทิ้งไว้ ๑ - ๒ วัน ก็ซักออกได้)
การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ เป็นการใช้จุลินทรีย์ช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศ ช่วยทำให้ฟอสฟอรัสในดินเป็นประโยชน์แก่พืช และยังอุดมไปด้วยธาตุอาหารต่างๆตามธรรมชาติ ท่านทำเองก็ได้ สบายมาก วิธีการหมักอย่างง่ายๆ ดังนี้
๑. เตรียมวัตถุดิบ กล้วยสุก ๑ ส่วน (กก.) มะละกอสุก ๑ ส่วน (กก.) ฟักทองแก่ ๑ ส่วน (กก.) และน้ำตาลทรายแดง ๑ ส่วน (กก.) และ ถังที่มีฝาปิดสนิท
๒. หั่นกล้วย มะละกอ ฟักทอง ยาวประมาณ ๒ ซม. ใส่รวมลงในภาชนะเดียวกัน
๓. ใส่น้ำตาลทรายแดง ๑ ส่วน (กก.) ลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้า วางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้ ๑๐ - ๑๕ วัน
๔. จะได้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพชนิดเข้มข้น ใช้รดน้ำต้นไม้ โดยผสมเจือจางกับน้ำเปล่า ๑,๐๐๐ ส่วน หรือน้ำหมัก ๑ ช้อนโต๊ะต่อน้ำ ๑ ปี๊บ (ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพมากจะทำให้ใบเหลือง ใบไหม้ ต้นไม้เฉาตายได้ ในระยะเริ่มแรกจึงควรใช้ปริมาณน้อยๆ ผสมให้เจือจางมากๆ)
๕. ถ้าต้องการหมักต่อ(เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ) โดยเติมน้ำ ๑๐ ส่วน ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ ๓ เดือน จะได้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพที่มีจุลินทรีย์ สารอินทรีย์และธาตุอาหารเป็นจำนวนมาก
ธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่
๑. ไนโตรเจน (N) ช่วยให้พืชเจริญเติบโตทางด้านใบ ลำต้น หัว ฯลฯ
๒. ฟอสฟอรัส (P) ช่วยเร่งการออกดอกและสร้างเมล็ด
๓. โปแตสเซียม (K) ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแป้ง น้ำตาล และโปรตีน ควบคุมการปิดเปิดของปากใบและเกี่ยวข้องกับขบวนการสร้างโปรตีน
๔. แคลเซียม (Ca) ไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์แสง การหายใจ การสังเคราะห์โปรตีน
๕. กำมะถัน (S) ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำมัน เกี่ยวข้องกับ กระบวนการ สังเคราะห์คลอโรฟีลล์ และ การแบ่งเซลล์

ประโยชน์ของกล้วย
     กล้วยอุดมด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทส และ กลูโคส รวมกับเส้นใยและกากอาหาร กล้วยจะช่วยเสริมเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายทันทีทันใด จากงานวิจัยพบว่ากินกล้วยแค่ 2 ผล ก็สามารถเพิ่มพลังงานให้อย่างเพียงพอ กับการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ได้นานถึง 90 นาที

    ประโยชน์ของกล้วยไม่ใช่เพียงแค่เพิ่มพลังงานเท่านั้น ยังช่วยเอาชนะ และป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดกับร่างกายได้อีกหลายโรค ดังนี้

1. โรคโลหิตจาง ในกล้วยมีธาตุเหล็กสูงจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด และจะช่วยในกรณีที่มีสภาวะขาดกำลัง หรือภาวะโลหิตจาง

2. โรคความดันโลหิตสูง มีธาตุโปรแตสเซียมสูงสุด แต่มีปริมาณเกลือต่ำ ทำให้เป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุดที่จะช่วยความดันโลหิตมาก อย.ของอเมริกา ยินยอมให้อุตสาหกรรมการปลูกกล้วยสามารถ โฆษณาได้ว่า กล้วยเป็นผลไม้พิเศษช่วยลดอันตรายอันเกิดจากเรื่องความดันโลหิตหรือโรคเส้นเลือดฝอยแตก

3. กำลังสมอง มีงานวิจัยในกลุ่มนักเรียน 200 คน โรงเรียน Twickenham พบว่ากินกล้วยมื้ออาหารเช้า ตอนพัก และมื้ออาหารกลางวันทุกวัน เพื่อช่วยส่งเสริมกำลังของสมองในพวกเขา ได้รับผลดีจากการสอบตลอดปี ด้วยการจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าปริมาณโปรแตสเซียมที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในกล้วยสามารถให้นักเรียนมีการตื่นตัวในการเรียนมากขึ้น

4. โรคท้องผูก ปริมาณเส้นใยและกากอาหารที่มีอยู่ในกล้วยช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ และยังช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกโดยไม่ต้องกินยาถ่ายเลย 

5. โรคความซึมเศร้า จากการสำรวจ ในจำนวนผู้ที่มีความทุกข์เกิดจากความซึมเศร้าหลายคนจะมี ความรู้สึกที่ดีขึ้นมากหลังการกินกล้วย เพราะมีโปรตีนชนิดที่เรียกว่า Try Potophan เมื่อสารนี้เข้าไปในร่างกายจะ ถูกเปลี่ยนเป็น Rerotonin เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวผ่อนคลายปรับปรุงอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ คือทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นนั่นเอง

6. อาการเมาค้าง วิธีที่เร็วที่สุดที่จะแก้อาการเมาค้าง คือ การดื่มกล้วยปั่นกับนมและน้ำผึ้ง กล้วยจะทำให้ กระเพาะของเราสงบลง ส่วนน้ำผึ้งจะเป็นตัวช่วยหนุนเสริมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดที่หมดไปในขณะที่นมก็ช่วย ปรับระดับของเหลวในร่างกายของเรา

7. อาการเสียดท้อง กล้วยมีสารลดกรดตามธรรมชาติที่มีผลต่อร่างกายของเรา ถ้าปัญหาเกี่ยวกับอาการเสียด ท้อง ลองกินกล้วยสักผล คุณจะรู้สึกผ่อนคลายจากอาการเสียดท้องได้

8. ความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า การกินกล้วยเป็นอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร จะรักษาระดับน้ำตาลในเส้นเลือดให้คงที่ เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า

9. ยุงกัด ก่อนใช้ครีมทาแก้ยุงกัด ลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด มีหลายคนพบอย่างมหัศจรรย์ว่า เปลือกกล้วยสามารถแก้เม็ดผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้

10. ระบบประสาท วิธีควบคุมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด ด้วยการกินอาหารว่างที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงอย่างทุก 2 ชั่วโมง เพื่อรักษาปริมาณน้ำตาลให้คงที่ตลอดเวลา การกินกล้วยที่มีวิตามินบี 6 ซึ่งประกอบด้วยสารควบคุมระดับกลูโคสที่สามารถมีผลต่ออารมณ์ ช่วยทำให้ระบบประสาทสงบลงได้

11. โรคลำไส้เป็นแผล กล้วยเป็นอาหารที่แพทย์ใช้ควบคุม เพื่อต้านทานการเกิดโรคลำไส้เป็นแผล เพราะเนื้อของกล้วยมีความอ่อนนิ่มพอดี เป็นผลไม้ชนิดเดียวที่ทานได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคลำไส้เรื้อรัง และกล้วยยังมีสภาพเป็นกลางไม่เป็นกรด ทำให้ลดการระคายเคือง และยังไปเคลือบผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย

12. การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ในวัฒนธรรมของหลายแห่งเห็นว่ากล้วย คือผลไม้ที่สามารถทำให้ อุณหภูมิเย็นลงได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอุณหภูมิของอารมณ์ของคนที่เป็นแม่ที่ชอบคาดหวัง ตัวอย่างในประเทศไทย จะให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์รับประทานกล้วยทุกวันเพื่อให้แน่ใจว่า ทารกที่เกิดมา จะมีอุณหภูมิเย็น

13. ความสับสนของอารมณ์เป็นครั้งคราว กล้วยสามารถช่วยในเรื่องของอารมณ์และความสับสนได้ เพราะในกล้วยมีสารตามธรรมชาติ Try Potophan ทำให้อารมณ์

14. การสูบบุหรี่ กล้วยสามารถช่วยคนที่กำลังพยายามเลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากในกล้วยมีปริมาณของวิตามินซี เอ บี6 และบี 12 ที่สูงมาก และยังมีโปรแตสเซียมกับแมกนีเซียม ที่ช่วยทำให้ร่างกายฟื้นคืนตัวได้เร็วอันเป็นผล จากการลดเลิกนิโคตินนั่นเอง

15. ความเครียด โปรแตสเซียมเป็นสารอาหารสำคัญ ที่ช่วยให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ การส่งออกซิเจน ไปยังสมอง และปรับระดับน้ำในร่างกาย เวลาเกิดอารมณ์เครียด อัตรา metabolic ในร่างกายของเราจะขึ้นสูง และทำให้ระดับโปรแตสเซียมในร่างกายของเราลดลง แต่โปรแตสเซียมที่มีอยู่สูงมากในกล้วยจะช่วยให้เกิด ความสมดุล

16. เส้นเลือดฝอยแตก จากการวิจัยที่ลงในวารสาร "The New England Journal of Medicine" การกินกล้วยเป็นประจำสามารถลดอันตรายที่เกิดกับเส้นโลหิตแตกได้ถึง 40

17. โรคหูด การรักษาหูดด้วยวิธีทางเลือกแบบธรรมชาติ โดยการใช้เปลือกของกล้วยวางปิดลงไปบนหูด แล้วใช้แผ่นปิดแผลหรือเทปติดไว้ให้ด้านสีเหลืองของเปลือกกล้วยออกด้านนอก ก็จะสามารถรักษาโรคหูดให้หายได้





เอกสารอ้างอิง
1.    พัชรีวัลย์ ปั้นเหน่งเพชร.  การศึกษาฤทธิ์ของกล้วยในการป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาว.  รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543:125.  
2.    โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง.  คู่มือสมุนไพรน่าใช้ เล่ม 2.  กรุงเทพฯบริษัทเอดิสันเพรสโปรดักส์จำกัด, 2528:84. 
3.         พระหอม.  แบบสัมภาษณ์ผู้ใช้โดยโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง.
ต้นกล้วยประหลาด ออกเครือกลางลำต้น